ขณะเดียวกันในวิธีการใช้ประวัติศาสตร์นี้ก็ได้แฝงความเกลียดชังในศัตรูแบบข้ามภพข้ามชาติกันเลยที
เดียว ในการเยือนอยุธยาในปัจจุบันเราเห็นซากปรักหักพังพลันให้ได้ยินคำถามบ่อยๆ ว่า ทำไมเหลือ
แค่นี้ ทำไมมีแต่ซากและมักได้ยินคำตอบสุดคลาสสิคว่า “พม่าเผา” เป็นวาทะกรรมเด็ด ที่ง่าย สั้น
กระชับ จบประโยคในตัว ความเข้าใจผิด ผ่านการนำเสนอความจริงเพียงบางส่วนย่อมทำให้เกิดอคติ
ทางประวัติศาสตร์ได้ง่าย
เรามาทำความรู้จักประวัติศาสตร์อยุธยาที่เราไม่ค่อยรู้จักกันดีกว่าครับ
1. ในปีพ.ศ.2310 เป็นสงครามระหว่าง กรุงศรีอยุธยา กับกรุงอังวะ แต่เรามักใช้คำว่า ไทย รบ พม่า
ซึ่งไม่ถูกต้องเพราะขณะนั้นเรายังไม่มีรัฐไทยและรัฐพม่า
2. “พม่าเผา” จริงหรือ
จากจดหมายเหตุหลายฉบับกล่าวตรงกันว่า กรุงศรีอยุธยาเตรียมรับศึกกับอังวะด้วยการตุนเสบียงไว้ให้
ถึงฤดูน้ำหลากเพราะเข้าใจว่าเมื่อกองทัพอังวะเจอน้ำหลากจะไม่สามารถตั้งทัพได้ อีกทั้งอาจต้อง
เผชิญกับโรคระบาดที่มากับกระแสน้ำซึ่งเป็นอันตรายต่อกองทัพอังวะ แต่ปรากฏว่า
กองทัพอังวะเตรียมการเป็นอย่างดี สะสมเสบียงไว้พร้อมและปรับกองทัพให้อยู่พ้นน้ำ และล้อมกรุง
ศรีอยุธยาไว้ เมื่อสิ้นฤดูน้ำหลาก จึงส่งผลทำให้ไม่มีเสบียงในพระนคร และเกิดจลาจลแย่งชิงเสบียง
อีกทั้งยังมีกระแสข่าวลือว่าพระนครจะแตก จึงยิ่งความวุ่นวายและเกิดเพลิงไหม้จากจลาจลก่อนกองทัพ
อังวะจะเข้าสู่พระนคร และเพราะเหตุนี้เอง เมื่อพระนครเกิดจราจลจากภายใน กองทัพอังวะจึงเผาราก
กำแพงเมืองและเข้าพระนครได้โดยง่าย และเข้าปล้นสดมภ์ชิงสมบัติและเผา?
ล่าสุดนี้ทางกรมศิลปากรได้ขุดสำรวจเพิ่มเติมในบริเวณวัดพระศรีสรรเพชญ์ พบว่าในชั้นดินหลายชั้นนั้น
ไม่พบเขม่าถ่านซึ่งหมายความว่าไม่ได้เกิดเพลิงไหม้บริเวณนั้นแต่ถูกทำลายด้วยวิธีการอื่นมากกว่า
3. หลังสงครามยุติลง อยุธยาเป็นเมืองร้าง อย่างน้อยตลอดช่วง 15 ปีที่ย้ายราชธานีไปยังกรุงธนบุรี
ก็มีกลุ่มคนหลากฝ่ายเข้าขุดหาสมบัติในกรุงเก่า จนถึงสมัยรัชกาลที่1 ราชวงศ์จักรี รับสั่งให้รื้ออิฐจาก
กรุงเก่าโดยเฉพาะกำแพงเมืองมาสร้างกรุงเทพฯ และสมัยรัชกาลที่ 5 มีการออกโฉนดให้คนเข้ามาอยู่
อาศัยก็มีการสร้างชุมชนทับกับโบราณสถานและยังปรากฏข่าวคราวการลักลอบขุดทำลาย เพื่อหาสมบัติ
ตัดเศียรพระพุทธรูปเพื่อนำไปจำหน่าย ค้าวัตถุโบราณจึงกว่าจะมีการปราบปรามอย่างจริงจังก็ล่วงเลย
มาถึงช่วงปีพ.ศ.2500 เข้าไปแล้ว
สรุป คำว่า “ใครเผาอยุธยา?” จริงๆแล้วอาจผิดตั้งแต่รูปแบบของคำถามนี้แล้วด้วยซ้ำ
เพราะการเพ่งหาคนผิดนั้นไม่ทำให้เกิดประโยชน์อันใดได้อย่างแท้จริงเลย คำถามสำคัญอาจเป็นคำที่
ง่ายกว่านั้น คือ “เราจะรักษาอยุธยาที่เหลืออยู่นี้ได้อย่างไร?”
3 จุดหมายอยุธยาที่ไม่ควรพลาด "วัดหน้าพระเมรุ
วัดงดงามที่คงสภาพเดิมมากที่สุดในอยุธยาและไม่ถูกทำลายทั้งสงครามและกาลเวลามากนัก
เหตุที่เรียกว่าวัดหน้าพระเมรุนั้นเพราะอยู่ฝั่งตรงข้ามกับทุ่งพระเมรุในเขตวังหลวงของกรุงศรีอยุธยา
และเพราะยุทธศาสตร์นี้เอง กองทัพอังวะจึงใช้เป็นฐานในการยิงปืนใหญ่เข้าสู่พระราชวัง
สิ่งที่น่าสนใจของวัดหน้าพระเมรุคือโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมดั้งเดิม ทั้งหน้าบันแกะสลักลายวิจิตร
สกุลช่างอยุธยาและวิธีการเรียงเสาในพระอุโบสถจนเป็นแบบภาพมุมลึกประสานกับองค์พระประธาน
พอดี ที่สำคัญพระประธานนามว่า “พระพุทธนิมิตวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญ์บรมไตรโลกนาถ”
เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องกษัตริย์อยุธยา ที่อาจแปลกตาไม่พบเห็นมากนักสำหรับที่เราคุ้นเคยกับ
พระพุทธรูปแบบห่มจีวรมากกว่า สาเหตุนั้นก็เป็นจาก 2 สาเหตุคือ ตำนานพุทธประวัติตอนพระพุทธเจ้า
นิมิตรพระวรกายเป็นทรงเครื่องกษัตริย์สู้กับพระยาชมพูบดี และอีกสาเหตุเป็นวิธีสะท้อนความคิดวิธีการ
ปกครองแบบอยุธยาโดยองค์กษัตริย์เสมือนเป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้าในเวลาเดียวกัน
จึงได้นำรูปแบบเครื่องทรงกษัตริย์ประทับในองค์พระพุทธรูปโดยมีความหมายว่า พระองค์เป็นผู้ปกครอง
อาณาจักรและศาสนจักรในเวลาเดียวกัน
" วัดสุวรรณดาราราม"
เดิมชื่อว่า วัดทอง สร้างโดย นายทองดี ให้เป็นวัดประจำตระกูล บริเวณบ้านของ
ท่าน เดิมวัดนี้เป็นวัดเล็กวัดนึงของกรุงศรีอยุธยา เพียงแต่ว่า บุตรของท่านทองดี นามว่า ทองด้วง ได้
สถาปนากรุงเทพฯ ขึ้นในนามพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชแห่งราชวงศ์จักรี
วัดนี้จึงเปรียบเสมือนเป็นต้นกำเนิดของราชวงศ์จักรีอย่างแท้จริงวัดนี้จึงได้รับการบรูณะอย่างต่อเนื่อง
สิ่งที่น่าสนใจในบริเวณวัดพระอุโบสถ เป็นโครงสร้างสถาปัตยกรรมสกุลช่างสมัยอยุธยาตอนปลาย
แม้จะไม่ใหญ่โตแต่วิจิตรงดงามไม่ว่าจะเป็นฐานอุโบสถที่เป็นลักษณะโค้งคล้ายท้องเรือสำเภา
และคันทวยไม้แกะสลักที่งดงามที่สุดในประเทศไทยด้วยเทคนิกการแกะที่ยากยิ่ง เป็นลายก้านขด
พระวิหาร มีจิตรกรรมฝาผนัง พระราชประวัติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่วาดขึ้นในสมัยรัชกาลที่7
คิดว่าหลายท่านอาจจะคุ้นเคยกับภาพประกอบในตำราเรียนเกี่ยวกับพระราชประวัติสมเด็จพระนเรศวร
มหาราชส่วนใหญ่จะนำภาพจากจิตรกรรมแห่งนี้เป็นภาพประกอบ

"พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา"
ของดีที่ไม่มีใครรู้จักที่เก็บรักษาพระบรมสาริกธาตุจากกรุวัดมหาธาตุ ที่อัญเชิญมาครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยา
จนกระทั่งพระปรางค์ถล่มลงมาจึงได้นำมาเก็บรักษาและให้คนได้สักการบูชา เราจึงได้เห็นวิธีการเก็บ
พระธาตุแบบโบราณ โดยการบรรจุใต้ฐานองค์ปรางค์ และเก็บด้วยวัสดุต่างขนาด ต่างวัตถุดิบ ครอบองค์
พระธาตุไว้ เราจะได้เห็นครบทุกชิ้นในห้องพระธาตุของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ ที่สำคัญไฮไลท์ของที่นี่คือ
ห้องกรุเครื่องทอง จากวัดราชบูรณะ ที่เคยเป็นข่าวดังเราจะได้เห็นขนบธรรมเนียมโบราณในการฝัง
เครื่องทองให้กับการอุทิศให้กับผู้ล่วงลับได้ใช้ในโลกหน้ามีชุดเชียนหมากทองคำ ทองหมอบทองคำ
เครื่องราชูปโภคทองคำ ที่สำคัญที่สุด 2 ชิ้นคือพระแสงขรรค์ทองคำ โดยมีเรื่องเล่าว่า โจรไม่กล้าขโมย
เพราะเรื่องแปลกคือ ชักไม่ออก จึงวางไว้ใต้ต้นพุทธาในเขตวังโบราณเมื่อ 50 ปีก่อน เมื่อทางกรม
ศิลปากรเก็บรักษาได้ ก็ดึงไม่ออกเช่นกัน
จึงได้ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จึงตรัสหยอกว่า “เราจะดึงออก
ได้อย่างไรเมื่อสนิมกัดขนาดนี้” และรับสั่งใช้น้ำยากร่อนสนิมหยอดลงไปสะท้อนถึงพระอัจฉริยะภาพ
ทางวิทยาศาสตร์ของพระองค์อีกหนึ่งชิ้นสำคัญคือ ศิราภรณ์ คือ มงกุฎสตรีชาววังแบบหัวตัด ถักทอด้วย
ทองคำขนาดเล็ก จนกลายเป็นมงกุฏที่วิจิตรงดงาม